ใครๆก็ว่าให้เรา ตั้งใจทำงาน จะได้มีงานการดีๆทำ รากฐานที่ปลูกฝังกันมารุ่นสู่รุ่น แต่จะมีใครเคยสงสัยกันหรือไม่ว่าชุดความคิดเหล่านี้ ถูกส่งต่อไปถึงผู้คนมากมาย เกิดเป็นค่านิยมสังคมแห่งการแข่งขันหน้าที่การงานที่ดีกว่า คือ หน้าตาและเงินทองที่จะได้มา แต่บางคนตั้งใจทำงานชนิดที่ว่าหายใจเข้าออกมีแต่งาน และวางมือจากการตอบเมลงานไม่ได้เลยในแต่ละวัน เส้นบางๆระหว่าง “ตั้งใจทำงาน” กับ “บ้างาน” ห่างกันเพียงแค่คืบ ซึ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณร้ายที่ส่งผลทั้งต่อตัวเอง และสุดท้ายไปถึงองค์กรอย่างเสียไม่ได้

Workaholic แปลเป็นไทยได้ว่า โรคเสพติดการทำงาน จากการสำรวจประชากรวัยแรงงานหรือวัยทำงานของประเทศไทย พบว่า มีจำนวนถึง 67% ของจำนวนประชากรทั่วประเทศที่เป็นโรคบ้างาน ตัวเลขนี้บอกอะไรเราได้หลายอย่าง และเราต้องหันมาใส่ใจกับประเด็นนี้กันมากขึ้น เพราะมีผู้คนมากมายในสังคมปัจจุบันที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคบ้างาน จึงยังคงทำพฤติกรรมเดิม ๆ ทำงานหนักจนเครียด เกิดการสะสมของโรคร้าย สะสมไปเรื่อย ๆ นานวันเข้าส่งผลต่อร่างกายอย่างคาดไม่ถึง

หากสังเกตตัวเองคนบ้างานมักจะ ไม่เคยลา ขาด หรือมาทำงานสาย มาคนแรกกลับคนสุดท้าย งานไม่เสร็จไม่กินข้าว ไม่ไปพักเที่ยง ทำงานต่อที่บ้านหลังเลิกงาน เริ่มกระวนกระวายใจเวลาไม่มีเมลงานเข้ามา ต้องคอยกดไล่เชคเมลให้ครบ รีเฟรชเมลซ้ำๆ วันหยุดสุดสัปดาห์ ยังอดไม่ได้ที่จะหยิบงานขึ้นมาทำ และอื่นๆ

การทำงานมากจนเลยเถิดไปถึงคำว่า “หมกมุ่น” เกินไป อาจทำให้ใครหลายคนเกิดภาวะ “หมดไฟ” หรือที่เรียกกันว่า Burn Out มักเกิดขึ้นเมื่อเราทำงานอย่างหนักอย่างต่อเนื่อง หมกหมุ่นอยู่กับงานซ้ำๆ ไม่ได้พักเป็นเวลานานๆ เหมือนเราเผาไฟไปเรื่อยๆ แต่ไม่มีการเติมฟืน ในที่สุดไฟก็ค่อยๆ มอดดับไปอย่างเงียบๆ

แต่กระนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะสั่งให้ตัวเอง “หมดศรัทธาในตัวเอง” และไม่คิดจะขยันหรือพัฒนาอะไรเลย เพราะความคิดนี้จะทำให้คุณรู้สึกหมดไฟ หมดพลังในการทำงานขึ้นมาจริงๆ สิ่งที่ทำได้ และต้องทำให้ได้ คือ หาความพอดีในชีวิตบ้าง จริงอยู่ที่เราอาจมีวันที่หมดไฟ หรืออาจมีวันที่แพ้ใจตัวเองบ้าง ไม่สำคัญ คุณจะไปได้ไกลเท่าที่คุณผลักดันตัวเองมากพอ เพราะจริงๆแล้วความลับในเรื่องนี้คือ ความสำเร็จทั้งหลายเกิดจากตัวเราทั้งสิ้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย ภาวะทางเศรษฐกิจ หรืออะไรทั้งนั้น จุดเริ่มต้นของความสำเร็จขึ้นอยู่กับตัวเรา เราต้องเรียนรู้จัดการกับตัวเองได้มากพอ สร้าง Work-Life Balance เสียบ้าง มีเป้าหมาย และลงมือทำ สุดท้าย คือ ล้มแล้วแค่ลุก ปรับตัวหาทางเดินต่อ แล้วเดินหน้าเริ่มวันใหม่ แค่นั้น!

แล้วเราจะทำได้อย่างไรบ้างล่ะ พูดคงง่ายแต่ทำนั้นยาก คงต้องเริ่มๆทำกันไป ทีละอย่างสองอย่าง!!!

  • เวลาทำงานก็ทำอย่างเต็มที่ แต่พอเวลาพักก็ต้องพักจริงๆ แบ่งแยกเวลาให้ชัดเจน จัดสรรตารางชีวิตให้มีความลงตัวมากขึ้น ไม่เอาเวลางานไปใช้ปนมั่วกับเวลาส่วนตัว หากต้องมีทำงานล่วงเวลาบ้าง พอเข้าใจได้แต่ต้องไม่ใช่ทุกวัน
  • ให้เวลาตัวเอง สิ่งนี้คือ อันดับแรกที่เราต้องใส่ใจ กลับมาคิดทบทวนตัวเอง พูคุยกับตัวเองบ้าง เพื่อให้สภาพจิตใจเรายังโอเคอยู่ สร้างพลังบวกและเก็บแรงบรรดาลใจมาไว้เติมฟืน
  • ให้เวลากับคนที่เรารัก พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน ลูกหลาน ป้า น้า อา ไปเจอหน้าเจอตาบ้าง ทำกิจกรรมร่วมกันบ้าง อย่าให้ตัวเราและเขาต้องเหี่ยวเฉา คิดถึงกันจนมากเกินไป
  • เปลี่ยนบรรยากาศ ท่องเที่ยว หาประสบการณ์ บางคนอาจลองออกเดินทางคนเดียวบ้างไหม เพื่อที่เราจะได้มีเวลากับตัวเองได้มากจริงๆ
  • หาเวลาไปทำกิจกรรมใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่บ้าง ลงคอรส์เรียนภาษา อัพสกิลเริ่ดๆ หรือไปออกกำลังกาย ทำอาหาร ทำอะไรที่ไม่เคยทำบ้าง ให้เราได้ฝึกฝนตนเองในแบบใหม่ๆดู
  • สร้างทัศนคติและชุดความคิดใหม่ๆ อย่าให้พลังงานด้านลบมากลืนกิน เวลาทำอะไรผิดพลาด เกิดกลัวและไม่กล้า ทำให้เต็มที่ ผลที่ออกมาก็แค่เผชิญหน้าแล้วหาทางออก บอกตัวเองว่าเราต้องทำได้
  • ห่างๆจากโซเชียลมีเดีย มือถือ หน้าจอ บ้าง ได้พักทั้งตาและสมองสองด้านนะ
  • ให้รางวัลกับตัวเองบ้าง ไปกินอาหารดีๆ ไปช้อปปิ้งบ้างอะไรบ้าง สั่งของออนไลน์ตลอดเวลาก็รับรู้โซเชียลมีเดียมากเกินไปเหมือนกันนั่นล่ะ

Medusa ขอให้ทุกๆคน มีแรงทำงานกันต่อไป แต่ในแบบ Work-Life Balance ล่ะนะ อดใจรออีกไม่นาน จะได้ไปฉลองสงกรานต์กันสบายแฮฮฮ